1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Bioscience and Bioinnovation for Sustainability (International Program)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Bioscience and Bioinnovation for Sustainability)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Bioscience and Bioinnovation for Sustainability)
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 และ แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
4. รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาเอกแบบ 1.1 แบบ 1.2 แบบ 2.1 และ แบบ 2.2
4.2 ประเภทขอหลักสูตร
หลักสูตรทางด้านวิชาการ
4.3 ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
4.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาต่างชาติและ นักศึกษาไทยที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้เป็นอย่างดี
4.5 ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร
ระยะเวลา 2 ปี
5. ระบบการจัดการศึกษา
ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปี การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) อยู่บนความตั้งใจที่จะให้แผนมีจุดเน้นและเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทที่สำคัญได้แก่ ทั่วโลกได้ผ่านการเผชิญปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เปลี่ยนกรอบเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม ปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่อาจส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทรัพยากรพลังงานและอาหาร การเข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดของประเทศไทยในปี 2573 ที่ประชากร 20% จะเป็นผู้สูงวัย และรวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีแนวคิดหลัก 4 ประการ คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความสามารถในการฟื้นตัว เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ดังกล่าวได้
สำหรับแผนในระดับกระทรวงที่เป็นต้นทางในเชิงนโยบายในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ คือ แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2566-2570) ให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มี ความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหา ท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใชวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบัน ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบในภาพรวม อาทิเช่น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีในระดับสากล ในสาขาเป้าหมายของประเทศ กำลังคนของประเทศมีผลิตภาพและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ งบลงทุนด้านการวิจัยจากเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สังคมไทยมีความตระหนักรู้ในความสำคัญของประโยชน์และคุณค่าจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศ ไทยได้ส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็น 3 อันดับแรก คิดเป็นมูลค่า 1.288 ล้านล้านบาท นอกจากนี้อุตสาหกรรมเกษตรยังเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานโดยทำหน้าที่เป็นภาคการผลิตเริ่มแรก เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถนำไปจำหน่ายในรูปแบบของสินค้าเกษตร หรืออาจนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ของอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงการนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ อุปโภคชีวภาพ เช่น เครื่องสำอาง เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น แต่ปัจจุบันภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากสภาพ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แรงงานในภาคเกษตรลดลง ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ ประเทศไทยจึงต้อง ปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคการเกษตรให้เป็นการผลิตแบบทำน้อยได้มาก พึ่งพาการใช้แรงงานน้อยลง เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ เกษตรกรในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะ Smart Farmer ที่มีศักยภาพและพร้อมจะประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ใน การยกระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำผลิตผลทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมาก มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัยและสะดวกต่อการ บริโภค เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งอาหารในตลาดโลกอยู่ที่ 2.51% และเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอาหารยังเป็นเพียงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเป็น SME ถึง 99.4% และต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ให้ออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) และอัตราผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและ มองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ใน แต่ละช่วงวัยของตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการวิจัยและพัฒนา รวมถึงยกระดับผลผลิตทางการ เกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบเดิมไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่ม โอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเป็น 1 ใน 4 สาขายุทธศาสตร์ของ BCG Model เพื่อใช้เป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด ผ่านการใช้องค์ ความรู้ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงนวัตกรรม สำหรับขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า
1 ปรัชญา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) เป็นหลักสูตรนานาชาติที่มุ่งผลิตดุษฏีบัณฑิตให้มีคุณภาพระดับสากลที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ประกอบไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชีววิทยาระดับโมเลกุล สารชีวโมเลกุลและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ตั้งแต่ระดับโมเลกุลจนถึงระดับมหภาค อันเป็นแก่นของการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานชีวภาพ มีทักษะการคิดวิเคราะห์และความเชี่ยวชาญ มีทักษะการสื่อสารและการจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคม และด้านดิจิทัล สามารถทำงานวิจัยได้ในระดับบัณฑิตศึกษา บูรณาการและต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างชีวนวัตกรรม ตลอดจนวัตถุดิบหรือกระบวนการใหม่ ในระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และมีความพร้อมในการแข่งขันระดับสากล
2 วัตถุประสงค์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1) มีความเข้าใจหลักการ แก่นสาร และที่มาขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ประกอบไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชีววิทยาระดับโมเลกุล สารชีวโมเลกุลและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ที่สามารถทำงานวิจัยได้ในระดับบัณฑิตศึกษาและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
2) มีทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม ตลอดจนวัตถุดิบหรือกระบวนการใหม่ ในระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน
3) มีทักษะการสื่อสารและการจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคม และด้านดิจิทัล
4) มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และเป็นพลเมืองดีของสังคม
1. การรับสมัคร
2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 หมวดที่ 5 ข้อ 21.4 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่ และเป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
หลักสูตรแบบ 1.1 ต้องสำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือมีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือมีประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างน้อย 3 ปี หรือมีพื้นความรู้ความสามารถหรือศักยภาพสูงเพียงพอที่จะทำงานวิจัยได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
หลักสูตรแบบ 1.2 ต้องสำเร็จปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลการเรียนดีมาก โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
หลักสูตรแบบ 2.1 ต้องสำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรแบบ 2.2 ต้องสำเร็จปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลการเรียนดีมาก โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีพื้นความรู้ความสามารถ หรือศักยภาพสูงเพียงพอที่จะทำงานวิจัยได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(2) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีโดยมีผลการสอบทักษะภาษาอังกฤษย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี ดังนี้
TOEFL (Paper Based) | ไม่ต่ำกว่า | 500 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Computer Based) | ไม่ต่ำกว่า | 173 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Internet Based) | ไม่ต่ำกว่า | 61 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Institutional Testing Program) | ไม่ต่ำกว่า | 500 | คะแนน หรือ |
IELTS (Academic Module) | ไม่ต่ำกว่า | 5.5 | คะแนน หรือ |
TU-GET (1000 คะแนน) | ไม่ต่ำกว่า | 550 | คะแนน หรือ |
CU-TEP (120 คะแนน) | ไม่ต่ำกว่า | 70 | คะแนน หรือ |
ทักษะภาษาอังกฤษแบบอื่นที่เทียบเท่าหรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
– เอกสารโครงสร้างหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรนานาชาติ ดาวน์โหลด
รศ.ดร. รินา ภัทรมานนท์
ประธานหลักสูตร
ผศ.ดร. อมรรัตน์ ประจักษ์สูตร์
อ.ดร. จินดารัตน์ เอกประเสริฐ