1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Bioscience and Bioinnovation for Sustainability (International Program)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Bioscience and Bioinnovation for Sustainability)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Bioscience and Bioinnovation for Sustainability)
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
36 หน่วยกิต
4. รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 1 แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข
4.2 ประเภทขอหลักสูตร
หลักสูตรทางด้านวิชาการ
4.3 ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
4.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาต่างชาติและ นักศึกษาไทยที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้เป็นอย่างดี
4.5 ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร
ระยะเวลา 2 ปี
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) อยู่บนความตั้งใจที่จะให้แผนมีจุดเน้นและเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทที่สำคัญได้แก่ ทั่วโลกได้ผ่านการเผชิญปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เปลี่ยนกรอบเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม ปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่อาจส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทรัพยากรพลังงานและอาหาร การเข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดของประเทศไทยในปี 2573 ที่ประชากร 20% จะเป็นผู้สูงวัย และรวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีแนวคิดหลัก 4 ประการ คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความสามารถในการฟื้นตัว เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ดังกล่าวได้
สำหรับแผนในระดับกระทรวงที่เป็นต้นทางในเชิงนโยบายในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ คือ แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2566-2570) ให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มี ความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหา ท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใชวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบัน ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบในภาพรวม อาทิเช่น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีในระดับสากล ในสาขาเป้าหมายของประเทศ กำลังคนของประเทศมีผลิตภาพและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ งบลงทุนด้านการวิจัยจากเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สังคมไทยมีความตระหนักรู้ในความสำคัญของประโยชน์และคุณค่าจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศ ไทยได้ส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็น 3 อันดับแรก คิดเป็นมูลค่า 1.288 ล้านล้านบาท นอกจากนี้อุตสาหกรรมเกษตรยังเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานโดยทำหน้าที่เป็นภาคการผลิตเริ่มแรก เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถนำไปจำหน่ายในรูปแบบของสินค้าเกษตร หรืออาจนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ของอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงการนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ อุปโภคชีวภาพ เช่น เครื่องสำอาง เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น แต่ปัจจุบันภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากสภาพ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แรงงานในภาคเกษตรลดลง ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบ ประเทศไทยจึงต้อง ปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคการเกษตรให้เป็นการผลิตแบบทำน้อยได้มาก พึ่งพาการใช้แรงงานน้อยลง เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ เกษตรกรในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะ Smart Farmer ที่มีศักยภาพและพร้อมจะประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ใน การยกระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำผลิตผลทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมาก มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัยและสะดวกต่อการ บริโภค เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งอาหารในตลาดโลกอยู่ที่ 2.51% และเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอาหารยังเป็นเพียงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเป็น SME ถึง 99.4% และต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ให้ออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) และอัตราผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและ มองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ใน แต่ละช่วงวัยของตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการวิจัยและพัฒนา รวมถึงยกระดับผลผลิตทางการ เกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบเดิมไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่ม โอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเป็น 1 ใน 4 สาขายุทธศาสตร์ของ BCG Model เพื่อใช้เป็นหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด ผ่านการใช้องค์ ความรู้ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงนวัตกรรม สำหรับขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า
1 ปรัชญาและความสำคัญ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพอันเป็นแก่นของการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานชีวภาพ สามารถทำงานวิจัยได้ในระดับบัณฑิตศึกษา และตอบสนองต่อความต้องการของสังคม มีทักษะการคิดวิเคราะห์และความเชี่ยวชาญ นำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างชีวนวัตกรรม ตลอดจนวัตถุดิบหรือกระบวนการใหม่ ในระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างยั่งยืนได้ มีทักษะการสื่อสารและการจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคม และด้านดิจิทัล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
2 วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1) มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ประกอบไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชีววิทยาระดับโมเลกุล สารชีวโมเลกุลและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ที่สามารถทำงานวิจัยได้ในระดับบัณฑิตศึกษาและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
2) มีทักษะการคิดวิเคราะห์และความเชี่ยวชาญ สามารถต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างชีวนวัตกรรม ตลอดจนวัตถุดิบหรือกระบวนการใหม่ ในระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน
3) มีทักษะการสื่อสารและการจัดการ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคม และด้านดิจิทัล
4) มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และเป็นพลเมืองดีของสังคม
1. การรับสมัคร
2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หมวดที่ 5 ข้อ 21.2 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่ และ
(2) สำหรับแผนก แบบ ก 1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านศึกษาศาสตร์ที่มีพื้นความรู้เพียงพอ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือมีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติ หรือมีประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างน้อย 2 ปี หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
สำหรับแผนก แบบ ก 2 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมีสาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาขาวิชาทางด้านเกษตร กลุ่มสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านศึกษาศาสตร์ที่มีพื้นความรู้เพียงพอ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีโดยมีผลการสอบทักษะภาษาอังกฤษย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี ดังนี้
TOEFL (Paper Based) | ไม่ต่ำกว่า | 470 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Computer Based) | ไม่ต่ำกว่า | 150 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Internet Based) | ไม่ต่ำกว่า | 52 | คะแนน หรือ |
TOEFL (Institutional Testing Program) | ไม่ต่ำกว่า | 470 | คะแนน หรือ |
IELTS (Academic Module) | ไม่ต่ำกว่า | 5.0 | คะแนน หรือ |
TU-GET (1000 คะแนน) | ไม่ต่ำกว่า | 500 | คะแนน หรือ |
CU-TEP (120 คะแนน) | ไม่ต่ำกว่า | 65 | คะแนน หรือ |
ทักษะภาษาอังกฤษแบบอื่นที่เทียบเท่าหรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
– เอกสารโครงสร้างหลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรนานาชาติ ดาวน์โหลด
รศ.ดร. รินา ภัทรมานนท์
ประธานหลักสูตร
ผศ.ดร. อมรรัตน์ ประจักษ์สูตร์
อ.ดร. จินดารัตน์ เอกประเสริฐ